http://www.jumnongbaan.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

 หน้าแรก

 ข่าวสาร

สถิติ

เปิดเว็บ25/12/2009
อัพเดท11/01/2021
ผู้เข้าชม244,318
เปิดเพจ324,190

การจำนำ ทรัพย์สินที่จำนำเป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปที่อื่นได้สอบถาม0869719376รับจำนอง ขายฝากให้ยอดสูงดอกเริ่ม1บาท

การจำนำ ทรัพย์สินที่จำนำเป็นทรัพย์สินที่เคลื่อนที่จากที่หนึ่งไปที่อื่นได้สอบถาม0869719376รับจำนอง ขายฝากให้ยอดสูงดอกเริ่ม1บาท
การจำนำ

ความหมายของการจำนำ
จำนำ
คือ การที่บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนำ" นำสังหาริมทรัพย์ไปส่งมอบให้อยู่ในความครอบครอง
ของบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า
"ผู้รับจำนำ" เพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ที่ผู้จำนำเป็นหนี้ผู้รับจำนำ (ป.พ.พ.มาตรา๗๔๗)

ตัวอย่าง นาย ก. ได้กู้เงินจาก นาย ข. เป็นเงิน ๓,๐๐๐ บาท โดยนาย ก. ได้มอบสร้อยคอทองคำให้
นาย ข. ยึดถือไว้เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้เงินกู้ ๓,๐๐๐ บาท ของนาย ก. สัญญาเช่นนี้ เรียกว่า
"สัญญาจำนำ"

ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้
ทรัพย์สินที่จะใช้จำนำได้แก่ "สังหาริมทรัพย์" ทุกชนิด
"สังหาริมทรัพย์" ได้แก่ ทรัพย์สินทั้งหลายซึ่งอาจเคลื่อนจากที่หนึ่งไปแห่งอื่นได้ เช่น รถยนต์,นาฬิกา,แหวน,สร้อย ฯลฯ

สิทธิของผู้รับจำนำ
ผู้รับจำนำมีสิทธิยึดของที่จำนำไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้คืนแล้วจนครบถ้วน (ป.พ.พ. มาตรา ๗๕๘)

สิทธิจำนำมีขอบเขตเพียงใด
การจำนำย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้ คือ
๑.ต้นเงิน
๒.ดอกเบี้ย
๓.ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้
๔.ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนำ
๕.ค่าใช้จ่ายเพื่อรักษาทรัพย์สินซึ่งจำนำ
๖.ค่าทดแทนเพื่อความเสียหายอันเกิดจากความชำรุดบกพร่องของทรัพย์ที่จำนำ ซึ่งผู้รับจำนำมอง
ไม่เห็นในวันรับจำนำของเมื่อหนี้ถึงกำหนดชำระแล้ว หากลูกหนี้ (ผู้จำนำ) ผิดนัดไม่ยอมชำระหนี้ผู้รับจำนำ
ต้องบังคับจำนำทรัพย์ที่จำนำนั้น ผู้รับจำนำจะยึดถือเอาทรัพย์ที่จำนำหลุดเป็นของตนเอง โดยไม่มีการบังคับจำนำไม่ได้

การบังคับจำนำ
มีวิธีการดังต่อไปนี้ คือ
๑.ผู้รับจำนำต้องบอกกล่าวเป็นหนังสือไปยังลูกหนี้ก่อนว่า ให้ลูกหนี้จัดการชำระหนี้ รวมทั้งดอกเบี้ยและ
ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังได้กล่าวมาแล้วภายในเวลาอันสมควรซึ่งได้กำหนดไว้ในหนังสือบอกกล่าวดังกล่าว
๒.ถ้าลูกหนี้ละเลยไม่ชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาตามคำบอกกล่าว ผู้รับจำนำมีสิทธินำเอาทรัพย์สินที่
จำนำออกขายทอดตลาดได้
๓.ผู้รับจำนำต้องมีหนังสือบอกกล่าวให้ผู้จำนำทราบถึงวันที่จะขายทอดตลาดและสถานที่ที่จะขายทอดตลาด
ข้อยกเว้น
แต่ถ้าลูกหนี้ค้างชำระเกินกว่าเวลาที่กำหนด ๑ เดือน และไม่สามารถจะบอกกล่าวก่อนได้
ผู้รับจำนำไม่ต้องบอกกล่าวให้ลูกหนี้ทราบก่อนแต่อย่างใดผู้รับจำนำมีอำนาจนำทรัพย์สินออกขายทอดตลาด
ได้ทันที
(ป.พ.พ.มาตรา ๗๖๕)

ข้อตกลงไว้ล่วงหน้าว่าถ้าลูกหนี้ผิดนัดแล้วให้ทรัพย์ดังกล่าวตกเป็นของผู้รับจำนำ
โดยไม่ต้องมีการบังคับจำนำ

ข้อตกลงเช่นนี้ย่อมไม่สมบูรณ์ไม่มีผลบังคับได้ กล่าวคือ กฎหมายบังคับให้ต้องมีการบังคับจำนำด้วยวิธี
ที่กล่าวมาแล้วเท่านั้น ผู้รับจำนำจะใช้สิทธิยึดเอาทรัพย์ที่จำนำหลุดเป็นของตนเองไม่ได้

เมื่อขายทอดตลาดได้เงินมาแล้วต้องดำเนินการอย่างไร
เมื่อขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใด ผู้รับจำนำมีสิทธิหักเงินดังกล่าวเพื่อชำระหนี้คืนแก่ตนได้จน
ครบถ้วน หากมีเหลือเท่าใดผู้รับจำนำต้องส่งคืนให้แก่ผู้จำนำไป
แต่ถ้าเงินที่ขายทอดตลาดได้เงินไม่พอชำระหนี้คืนแล้ว เงินยังขาดอยู่เท่าใดผู้จำนำต้องใช้คืนให้แก่
ผู้รับจำนำจนครบถ้วน
(ป.พ.พ.มาตรา ๗๖๗)

ถ้าในระหว่างจำนำผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำคืนให้แก่ผู้จำนำแล้วจะมีผลอย่างไร
ถ้าในระหว่างจำนำผู้รับจำนำส่งมอบทรัพย์สินที่จำนำคืนให้แก่ผู้จำนำแล้วกฎหมายให้ถือว่าการจำนำ
นั้นระงับไปผู้รับจำนำจะใช้สิทธิในการบังคับจำนำเอากับทรัพย์นั้นอีกไม่ได้คงทำได้แต่เพียงฟ้องร้องบังคับ
ตามหนี้ที่ลูกหนี้เป็นหนี้ค้างชำระแก่ตนได้เท่านั้น

หมายเหตุ ป.พ.พ. = ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตราตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ควรดูประกอบ มาตรา ๗๔๗ - ๗๖๙
เอกสารอ้างอิงรวมกฎหมายที่ประชาชนควรรู้จัดพิมพ์โดยสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน
(สคช.)สำนักงานอัยการสูงสุด

view

หน้าแรก

บทความ

เว็บบอร์ด

รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view