http://www.jumnongbaan.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

 หน้าแรก

 ข่าวสาร

สถิติ

เปิดเว็บ25/12/2009
อัพเดท11/01/2021
ผู้เข้าชม239,042
เปิดเพจ317,983

ข้อควรระวังในการทำนิติกรรมส้ญญาสอบถาม0869719376รับจำนอง ขายฝากให้ยอดสูงดอกเริ่ม1บาท

ข้อควรระวังในการทำนิติกรรมส้ญญาสอบถาม0869719376รับจำนอง ขายฝากให้ยอดสูงดอกเริ่ม1บาท

ข้อควรระวังในการทำนิติกรรมสัญญา

๑. ต้องพิจารณาความสามารถของคู่สัญญาเสียก่อนว่า กฎหมายให้สิทธิกระทำได้หรือไม่ เช่น
๑.๑. เป็นผู้เยาว์หรือไม่ คือ อายุยังไม่ครบ ๒๐ ปีบริบูรณ์ แต่หากสมรสกัน (จดทะเบียนสมรส)
เมื่ออายุครบ ๑๗ ปีบริบูรณ์ ก็ไม่เป็นผู้เยาว์ต่อไป
๑.๒. มีคู่สมรสหรือไม่ หรือหากมีแล้วในบางกรณีอาจจะต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง
๑.๓. เป็นคนไร้ความสามารถหรือไม่ เช่น ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถ คือ คนประเภท บ้า
วิกลจริต เป็นต้น
๒. ต้องพิจารณาว่า เป็นผู้มีสิทธิหรือมีอำนาจทำสัญญาได้หรือไม่
เช่น
๒.๑. เป็นเจ้าของบ้านที่ดินจริงหรือไม่ เช่น ต้องดูจากโฉนดมีชื่อใครดูจากบัตรประจำตัวประชาชน เป็นต้น
๒.๒. หากเป็นผู้รับมอบอำนาจ มีหลักฐานการรับมอบอำนาจหรือไม่
๒.๓. เป็นผู้แทนนิติบุคคล เช่น ของห้างหุ้นส่วนบริษัทสมาคมจริงหรือไม่ และมีหนังสือกำหนดว่า ในการจะทำอะไรต้องมีกรรมการกี่คนลงชื่อต้องประทับตราหรือไม่วิธีง่ายๆก็ต้องขอดูหลักฐาน
จากทางราชการให้แน่นอนเสียก่อน
๒.๔. หากเป็นคนต่างด้าว ก็ต้องดูว่ามีสิทธิได้แค่ไหนเพียงใด ปัญหาที่มีบ่อย ๆ คือ เรื่องการซื้อขายที่ดิน
๓. เกี่ยวกับทรัพย์ที่จะทำสัญญา ก็มีความสำคัญเช่นกัน ต้องตรวจดูให้ด
เช่น ที่ดินก็ต้องไปดูให้แน่ ๆ ว่า
อยู่ที่ไหน โดยสอบถามจากพนักงานที่ดินหากจะให้ดีที่สุดก็ขอให้มีการรังวัดตรวจสอบก่อน หรือตรวจสอบว่าที่ดินติดจำนอง ขายฝาก ติดภาระจำยอม หรืออยู่ใกล้โรงงานใกล้แหล่งเสื่อมโทรม
หรือไม่ ซึ่งล้วนแต่มีปัญหาทั้งสิ้น
๔. ต้องพิจารณาตัวบุคคลด้วย ถึงแม้ว่าจะเป็นผู้มีสิทธิหรือมีอำนาจทำสัญญาได้
เช่นเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์
ในทรัพย์สินนั้น เป็นกรรมการบริษัทที่มีอำนาจหรือเป็นผู้รับมอบอำนาจว่าจะเชื่อถือได้แค่ไหนเพียงไร
๕.
การเข้าทำสัญญาจำต้องอ่านข้อความในสัญญาให้ดีว่าเอารัดเอาเปรียบกันหรือไม
มีข้อที่จะทำให้เสียหาย
หรือไม่ ไม่แน่ใจควรปรึกษา ผู้รู้กฎหมายเสียก่อนเช่น ปรึกษาทนายความ นิติกรและ
ผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมาย อื่น ๆ เป็นต้น เมื่อแน่ใจแล้วจึงทำสัญญา
๖.การลงมือทำสัญญา
เช่นกรอกข้อความควรให้ชัดเจนที่ไหนไม่ต้องการก็ขีดออกไปโดยคู่สัญญาลงชื่อ
กำกับไว้ตรวจดูให้เรียบร้อยว่าถูกต้องตรงกับความประสงค์หรือไม่ เมื่อถูกต้องตรงกับความประสงค์แล้ว จึงลงลายมือชื่อในช่องคู่สัญญา
๗. การลงชื่อในสัญญาสำคัญเช่นกัน
ต้องดูว่าลงในฐานะอะไร เช่น เป็นผู้แทนลงชื่อในช่องผู้ซื้อกลับกัน ผู้ซื้อลงชื่อในช่องผู้ขายหรือเป็นพยานแต่ลงชื่อในช่องผู้ซื้อเป็นต้นกรณีพิมพ์นิ้วมือก็ต้องมีพยานรับรอง
อย่างน้อย ๒ คน ควรให้ลงชื่อรับรองทันทีและระบุให้ชัดว่าเป็นพยานรับรองในเรื่องนี้จะได้ไม่มี
ปัญหาในภายหลัง อนึ่ง ลงชื่อในสัญญาเป็นเรื่องสำคัญมากเช่นกันต้องตรวจดูให้ดีและควรลงทั้งสองฝ่ายไม่ว่ากฎหมายจะบังคับ
หรือไม่ก็ตามและควรมีพยานด้วยซึ่งมาจากทั้งสองฝ่าย
๘. แบบสัญญานี้ อาจต้องทำเองหรือซื้อจากที่เขาทำจำหน่าย หากจะให้ดีก็ควรจะปรึกษานักกฎหมายอาชีพ
เช่น ทนายความ หรือ ที่ปรึกษากฎหมายขอให้เขาทำให้
จะเสียค่าใช้จ่ายบ้างก็ยังดีกว่าที่จะทำไปไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเสียหายมากมาย รายละเอียดของสัญญาควรมี
๘.๑. สถานที่ วัน เดือน ปี ที่ทำสัญญา
๘.๒. ชื่อ นามสกุล อายุ ตำบลที่อยู่ อาชีพของคู่สัญญา ตลอดจนหลักฐานแสดงตัวบุคคลควรระบุไว้ด้วย
๘.๓. ข้อความในสัญญาเป็นเรื่องอะไร มีรายละเอียดอย่างไร เช่นเกี่ยวกับทรัพย์ตกลงกันอย่างไร เช่น
การชำระเงิน การไปโอนเมื่อไร ข้อความในสัญญาอาจแยกเป็นข้อย่อย ๆ เพื่อความเข้าใจง่ายหรือให้
รายละเอียดก็ได้
๘.๔. กำหนดความรับผิด เมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งผิดสัญญา
๘.๕. การลงลายมือชื่อคู่สัญญา ลงลายมือชื่อพยาน
๙. ข้อแนะนำอื่น ๆ
กระดาษอุปกรณ์ที่ใช้ เช่น ปากกา ควรใช้กระดาษอย่างดีเพราะต้องเก็บไว้เป็นหลักฐาน
ปากกาเขียนควรใช้ด้ามเดียวตลอดในการเขียนสัญญา ผู้เขียนสัญญาเช่นกัน ใครเป็นผู้เขียนก็เขียนตลอด
และควรระบุว่าเป็นผู้เขียนสัญญาด้วย และควรเขียนให้พอดีกับกระดาษ เช่น ไม่เขียนต่ำเกินไป หรือ
สูงเกินไป ทำให้เหลือที่ว่างมาก อาจเกิดความสงสัยกันขึ้นมาว่าเป็นเอกสารปลอม เป็นต้น ที่สำคัญที่สุด
ก่อนลงลายมือชื่อต้องอ่านดูข้อความให้ดีเสียก่อนว่าเป็นไปตามที่เราต้องการหรือไม่ เมื่อถูกต้องตามความ
ต้องการแล้วจึงลงชื่อ


เอกสารอ้างอิง หนังสือกฎหมายเบื้องต้นสำหรับประชาชน สภาทนายความ คณะกรรมการ
โครงการช่วยเหลือประชาชนทางกฎหมาย สภาทนายความ
 
view

หน้าแรก

บทความ

เว็บบอร์ด

รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view