http://www.jumnongbaan.com
สร้างเว็บไซต์Engine by iGetWeb.com

 บทความ

 เว็บบอร์ด

 ติดต่อเรา

 หน้าแรก

 ข่าวสาร

สถิติ

เปิดเว็บ25/12/2009
อัพเดท11/01/2021
ผู้เข้าชม238,317
เปิดเพจ317,154

ความหมายของจำนองสอบถาม0869719376รับจำนอง ขายฝากให้ยอดสูงดอกเริ่ม1บาท

ความหมายของจำนองสอบถาม0869719376รับจำนอง ขายฝากให้ยอดสูงดอกเริ่ม1บาท

ความหมายของการจำนอง
         
จำนอง คือ การที่บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า "ผู้จำนอง"
เอาอสังหาริมทรัพย์ของตน เช่น ที่ดิน หรือ
ทรัพย์ที่กฎหมายอนุญาตให้จำนองได้ไปจดทะเบียนไว้กับบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า
"ผู้รับจำนอง"

เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ ทั้งนี้โดยผู้จำนองไม่ต้องส่งมอบที่ดินหรือทรัพย์สินดังกล่าวนั้นให้แก่
ผู้รับจำนอง
(ป.พ.พ.มาตรา ๗๐๒)
          ตัวอย่าง
  นายเอกได้กู้เงินจากนายโทเป็นจำนวน ๑ แสนบาท โดยนายเอกได้นำที่ดินของตนจำนวน 
๑ แปลงไปจดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้จำนวน ๑ แสนบาท
ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท โดยนายเอกไม่ต้องส่งมอบที่ดินของตนให้แก่นายโท นายเอกยังคงมีสิทธิครอบครอง
และใช้สอยที่ดินของตนได้ตามปกติ

การจำนองเพื่อการประกันการชำระหนี้แก่ผู้รับจำนองนั้น แบ่งออกเป็น ๒ กรณี คือ
         
๑.การจำนองทรัพย์ของตนเองเพื่อการประกันการชำระหนี้ของตนเอง
         
ตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท ๑ แสนบาท โดยนายเอกนำที่ดินซึ่งเป็นของตนเองไป
จดทะเบียนจำนองต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้เงินกู้ของนายเอกเอง

         
๒.การจำนองเพื่อเป็นประกันการชำระหนี้ของบุคคลอื่น
         
ตัวอย่าง นายเอก ได้กู้เงินจากนายโท ๑ แสนบาท โดยนายตรีได้นำที่ดินของตนไปจดทะเบียนจำนอง
ต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเป็นการประกันการชำระหนี้ที่นายเอกได้กู้ไปจากนายโท

ทรัพย์สินที่อาจใช้ในการจำนองได้
         
แบ่งออกได้เป็น ๒ ประเภทใหญ่ได้ ๒ ประเภท กล่าวคือ
          ๑. อสังหาริมทรัพย์ เช่น ที่ดิน บ้าน หรือสิ่งปลูกสร้างทุกชนิดอันติดอยู่กับที่ดินนั้น
          ๒. สังหาริมทรัพย์ ที่จำนองได้ คือ
          ก. เรือกำปั่น หรือเรือที่มีระวางตั้งแต่หกตันขึ้นไป เรือกลไฟ หรือเรือยนต์ที่มีระวางตั้งแต่ห้าตันขึ้นไป
          ข. แพ
          ค. สัตว์พาหนะ
          ง. สังหาริมทรัพย์อื่น ๆ ซึ่งกฎหมายได้บัญญัติให้จดทะเบียนจำนองได้ เช่น เครื่องจักรขนาดใหญ่ เป็นต้น

หลักเกณฑ์ในการจำนอง
          ๑. ผู้จำนองต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่จะจำนอง
          ๒. สัญญาจำนอง ต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น สัญญาจำนอง
ตกเป็นโมฆะไม่มีผลผูกพันแก่คู่สัญญาแต่อย่างใด ในการกู้ยืมเงินนั้นมีอยู่เสมอที่ผู้กู้ได้นำเอาโฉนดที่ดิน
ของตนไปมอบให้แก่ผู้ให้กู้เก็บรักษาไว้เฉย ๆ เพื่อเป็นหลักประกันในการชำระหนี้ โดยไม่มีการทำเป็นหนังสือ
และไม่ได้นำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ในกรณีเช่นนี้ไม่ใช่การจำนอง ผู้ให้กู้หาได้สิทธิใด ๆ ในที่ดิน
ตามโฉนดแต่อย่างใด คงได้แต่เพียงกระดาษโฉนดไว้ในครอบครองเท่านั้น ดังนั้น ถ้าผู้ให้กู้ประสงค์ที่จะให้เป็น
การจำนองตามกฎหมายแล้ว จะต้องทำเป็นหนังสือและนำไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่
          ๓. ต้องไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจรับจดทะเบียนจำนองตามกฎหมาย กล่าวคือ
          ก. ที่ดินที่มีโฉนดต้องนำไปจดทะเบียนที่กรมที่ดิน หรือสำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานคร (สาขา) หรือ
สำนักงานที่ดินจังหวัดหรือสำนักงานที่ดินจังหวัด (สาขา) ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ
          ข. ที่ดินที่ไม่มีโฉนด ได้แก่ ที่ดิน น.ส.๓ ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ ซึ่งที่ดินนั้นตั้งอยู่ในเขตอำนาจ
          ค. การจำนองเฉพาะบ้านหรือสิ่งปลูกสร้าง ไม่รวมที่ดิน ต้องไปจดทะเบียนจำนองที่อำเภอ
          ง. การจำนองสัตว์พาหนะ หรือแพ ต้องไปจดทะเบียนที่อำเภอ
          จ. การจำนองเรือต้องไปจดทะเบียนจำนองที่กรมเจ้าท่า
          ฉ. การจดทะเบียนเครื่องจักรต้องไปจดทะเบียนที่กระทรวงอุตสาหกรรม

ผลของสัญญาจำนอง
           ๑. ผู้รับจำนองมีสิทธิได้รับชำระหนี้จากทรัพย์สินที่จำนองก่อนเจ้าหนี้สามัญ โดยไม่ต้องคำนึงว่า
กรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินนั้นจะได้โอนไปยังบุคคลภายนอกแล้วหรือไม่ก็ตาม
           ๒. นอกจากนี้ผู้รับจำนองยังมีสิทธิที่จะเรียกเอาทรัพย์สินที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้
หากเข้าเงื่อนไข ดังนี้ คือ          
          ๒.๑. ลูกหนี้ได้ขาดส่งดอกเบี้ยมาแล้วเป็นเวลาถึง ๕ ปี
          ๒.๒. ผู้จำนองมิได้แสดงให้เป็นที่พอใจแก่ศาลว่าราคาทรัพย์สินนั้นท่วมจำนวนเงินอันค้างชำระ และ
          ๒.๓. ไม่มีการจำนองรายอื่น หรือบุริมสิทธิอื่นได้จดทะเบียนไว้เหนือทรัพย์สินอันเดียวกันนี้เอง
          ๓. ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองออกขายทอดตลาดใช้หนี้ได้เงินจำนวนสุทธิน้อยกว่าจำนวนเงินที่ค้าง
ชำระกันอยู่ หรือ ถ้าเอาทรัพย์สินซึ่งจำนองหลุดเป็นของผู้รับจำนองและราคาทรัพย์นั้นมีราคาต่ำกว่าจำนวนเงิน
ที่ค้างชำระกันอยู่ ทั้งสองกรณีนี้เงินยังขาดอยู่เท่าใด ลูกหนี้ไม่ต้องรับผิดชอบจำนวนในเงินที่ยังขาดอยู่นั้น
         
ข้อยกเว้น
แต่ถ้าในสัญญาจำนองได้ตกลงกันไว้ว่า ในกรณีที่มีการบังคับจำนองแล้วได้เงินไม่พอ
ชำระยอดหนี้ เงินที่ยังขาดจำนวนนี้ลูกหนี้ยังต้องรับผิดชดใช้ให้แก่ผู้รับจำนองจนครบถ้วน ข้อตกลงเช่นนี้
มีผลบังคับได้ ไม่ถือว่าเป็นการผิดกฎหมาย ผู้รับจำนองมีสิทธิที่จะบังคับให้ลูกหนี้ชำระหนี้ส่วนที่ยังขาด
จำนวนอยู่ดังกล่าวได้อีกจนครบถ้วน
          ๔. ในกรณีที่มีการบังคับจำนอง เมื่อนำที่ดินออกขายทอดตลาดได้เงินสุทธิเท่าใดแล้ว ก็ให้นำเงิน
ดังกล่าวชำระหนี้คืนให้แก่ผู้รับจำนอง หากมีเงินเหลืออยู่เท่าใดก็ให้ส่งมอบคืนให้แก่ผู้จำนอง ผู้รับจำนอง
จะเก็บไว้เสียเองไม่ได้

ขอบเขตของสิทธิจำนอง
          ผู้รับจำนองมีสิทธิบังคับจำนองได้เฉพาะที่จดทะเบียนจำนองเท่านั้น จะไปบังคับถึงทรัพย์สินอื่น ๆ
ที่ไม่ได้จดทะเบียนจำนองไม่ได้เช่น จำนองเฉพาะที่ดินย่อมไม่ครอบถึงโรงเรือนหรือบ้านที่ปลูกภายหลัง
วันจำนอง เว้นแต่จะได้ตกลงกันไว้ก่อนว่าให้รวมถึงบ้านและโรงเรือนดังกล่าวด้วย ,จำนองเฉพาะบ้านซึ่ง
ปลูกอยู่ในที่ดินของคนอื่น ก็มีสิทธิเฉพาะบ้านเท่านั้น , จำนองย่อมไม่ครอบคลุมถึงดอกผลแห่งทรัพย์สิน
ซึ่งจำนอง เช่น จำนองสวนผลไม้ดอกผลที่ได้จากสวนผลไม้ยังคงเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้จำนองอยู่     
     

ทรัพย์สินซึ่งจำนองอยู่นี้ ย่อมเป็นหลักประกันเพื่อการชำระหนี้ดังต่อไปนี้

          ๑. เงินต้น
          ๒. ดอกเบี้ย
          ๓. ค่าเสียหายในการไม่ชำระหนี้ เช่น ค่าทนายความ
          ๔. ค่าธรรมเนียมในการบังคับจำนอง

วิธีบังคับจำนอง
          ผู้รับจำนองต้องมีจดหมายบอกกล่าวไปยังลูกหนี้ว่าให้ชำระหนี้ภายในเวลาอันสมควร ซึ่งปกติจะใช้
เวลาประมาณ ๓๐ วันหากลูกหนี้ไม่ชำระหนี้คืนภายในกำหนดเวลาดังกล่าวแล้ว ผู้รับจำนองจะใช้สิทธิ
บังคับจำนอง หากถึงกำหนดนัดแล้วลูกหนี้ไม่นำเงินมาชำระ ผู้รับจำนอง ต้องฟ้องผู้จำนองต่อศาล เพื่อให้
ลูกหนี้ปฏิบัติการชำระหนี้ หากไม่ชำระหนี้ ก็ขอให้ศาลสั่งให้นำเอาทรัพย์ที่จำนองนั้นออกขายทอดตลาดนำ
เงินมาชำระหนี้ของตน หรือขอให้ศาลสั่งให้ทรัพย์ที่จำนองนั้นหลุดเป็นกรรมสิทธิ์ของตนหากเข้าเงื่อนไข
ที่กฎหมายกำหนดไว้
          จะเห็นได้ว่ากฎหมายบังคับไว้โดยเด็ดขาดว่าการบังคับจำนองจะต้องฟ้องคดีต่อศาลเสมอ จะนำเอา
ที่ดินขายทอดตลาดไม่ได้และต้องมีการออกจดหมายทวงหนี้ไปถึงลูกหนี้ก่อนเสมอ จะฟ้องคดีโดยไม่มีการ
บอกกล่าวทวงถามก่อนไม่ได้
          การบังคับจำนองนี้จะไม่คำนึงเลยว่าในขณะที่มีการบังคับจำนองนั้น ทรัพย์สินที่จำนองอยู่ในความ
ครอบครองของใครหรือลูกหนี้ได้โอนกรรมสิทธิ์ไปยังผู้อื่นกี่ทอดแล้วก็ตาม สิทธิจำนองย่อมติดตามตัวทรัพย์สิน
ที่จำนองไปด้วยเสมอ  แม้ว่าจะเป็นการโอนทางมรดกก็ตามสิทธิจำนองก็ติดตามไปด้วย

หนี้ที่ขาดอายุความไปแล้วจะมีผลกระทบถึงการจำนองหรือไม่
          แม้ว่าหนี้ที่เป็นประกันนั้นจะขาดอายุความแล้วก็ตาม ผู้รับจำนองก็ยังมีสิทธิที่จะบังคับจำนองเอากับ
ทรัพย์สินที่จำนองได้ ดังนั้น จึงไม่มีผลกระทบถึงสิทธิของผู้รับจำนองในทรัพย์สินที่จำนองแต่อย่างใด
แต่จะบังคับเอาดอกเบี้ยที่ค้างชำระในการจำนองเกินกว่า ๕ ปีไม่ได้
(ป.พ.พ. มาตรา ๗๔๕)

          ดังนั้น จะเห็นได้ว่าการจำนองเป็นหลักประกันการชำระหนี้อย่างแท้จริง ดังนั้น หากเจ้าหนี้
ประสงค์ที่จะได้รับชำระหนี้คืนแล้ว เจ้าหนี้จึงควรให้ลูกหนี้นำทรัพย์สินมาจำนองเป็นประกันการชำระหนี้ด้วย

การชำระหนี้จำนอง
          การชำระหนี้จำนองทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ดี การระงับหนี้จำนองไม่ว่าในกรณีใด ๆ ก็ดี การ
เปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงในการจำนองก็ดี กฎหมายบังคับให้ไปจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ มิฉะนั้น
แล้วจะยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้บุคคลภายนอกไม่ได้

เชื่อมโยงไปยังหน้าที่เกี่ยวข้อง ไม่มี
หมายเหตุ ป.พ.พ. = ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
มาตราตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่ควรดูประกอบ มาตรา ๗๐๒ - ๗๔๖

เอกสารอ้างอิง
  รวมกฎหมายที่ประชาชนควรรู้ จัดพิมพ์โดยสำนักงานคุ้มครองสิทธิและช่วยเหลือประชาชน(สคช.)
สำนักงานอัยการสูงสุด

view

หน้าแรก

บทความ

เว็บบอร์ด

รวมรูปภาพ

 ติดต่อเรา

view